KM Structure Management (โครงสร้างระบบบริหารจัดการความรู้ )
ประกอบด้วย 1. คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร มี CKO หรือ Chief Knowledge Officer ผู้บริหารสูงสุดด้านการจัดการความรู้ เป็นประธาน โดยมีคณะกรรมการสถานศึกษา เป็นที่ปรึกษา รวมทั้งผู้อำนวยการหน่วยงานในส่วนกลางเป็นกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) กำหนดทิศทางและแนวทางการจัดการความรู้ในองค์กรและส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
2) พิจารณา กลั่นกรอง ตรวจสอบและให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดการความรู้ของโรงเรียน
3) ให้การส่งเสริมและสนับสนุนในเรื่องต่างๆ ของคณะทำงานการจัดการความรู้เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามแนวทางและทิศทางที่กำหนด
4) ผลักดันและติดตามความก้าวหน้าให้การดำเนินการจัดการความรู้ของโรงเรียนดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสบผลสำเร็จทั่วทั้งองค์กร
5) ให้ประธานฯ มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานฯ ได้ตามความเหมาะสม
2) คณะทำงานการจัดการความรู้ 9 ด้าน ประกอบด้วย 8 กลุ่มสาระ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
1 กลุ่มสาระภาษาไทย
2 กลุ่มสาระคณิตศาสตร์
3 กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์
4 กลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
5 กลุ่มสาระสุขศึกษา และพลศึกษา
6 กลุ่มสาระศิลปะ
7 กลุ่มสาระการงานอาชีพ
8 กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ
9 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ศึกษาและวิเคราะห์ความรู้ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของสถานศึกษา เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กรในการมอบหมายหน่วยงานรับผิดชอบหรือต่อยอดองค์ความรู้
2) พิจารณากลั่นกรองและตรวจสอบความถูกต้องของผลงานความรู้จากหน่วยงานเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม
3) นำเสนอผลงานความรู้ที่เป็นประโยชน์ในภาพรวมต่อคณะกรรมการ เพื่อกำหนดเป็นนโยบายหรือแนวทางปฏิบัติของสถานศึกษา
4) ประธานมีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานย่อยได้ตามความเหมาะสม เพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการจัดการความรู้
5) ปฏิบัติงานอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กรกรมทางหลวงมอบหมาย
3) คณะทำงานการจัดการความรู้ประจำสถานศึกษา โดยมีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1) ดำเนินการจัดทำองค์ความรู้ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กรมอบหมาย
2) ดำเนินการจัดทำองค์ความรู้ตามความจำเป็นของหน่วยงาน
3) ดำเนินการรวบรวมองค์ความรู้ของหน่วยงานเพื่อจัดทำคลังความรู้ หรือแหล่งจัดเก็บความรู้ของหน่วยงาน
4) จัดทำแผนการจัดการความรู้ของหน่วยงาน รวมทั้งการจัดทำรายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินงานของการจัดการความรู้ เสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบบริหารความรู้ในองค์กร
5) สนันสนุนการจัดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในหน่วยงานและระหว่างหน่วยงาน
6) ผลักดันให้คณะทำงานการจัดการความรู้ของหน่วยงานดำเนินการจัดการความรู้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ รวมถึงนำความรู้มาใช้พัฒนาเพื่อเป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
7) ประสานงานและให้ความร่วมมือกับคณะทำงานการจัดการความรู้
8) ประธานฯ มีอำนาจแต่งตั้งคณะทำงานย่อยการจัดการความรู้ประจำหน่วยงาน
โดยมีกลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ กองฝึกอบรม เป็นผู้ประสานงาน